ผู้บริหาร อบต.ชัยบาดาล

นายนพรัตน์ ทองสุข
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล
น.ส.สุกัลยา ยอดพยุง
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ที่ตั้ง  องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 เลขที่ 1/1 ตำบลชัยบาดาล อำเภอชัยบาบาล จังหวัดลพบุรี ห่างจากอำเภอชัยบาดาล ประมาณ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 36.50 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 22,812.20 ไร่

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ                     ติดต่อกับ             ตำบลลำนารายณ์
ทิศใต้                        ติดต่อกับ             ตำบลม่วงค่อม
ทิศตะวันออก                ติดต่อกับ             แม่น้ำป่าสักและเขตอำเภอท่าหลวง
ทิศตะวันตก                 ติดต่อกับ             ตำบลห้วยหิน

ภูมิประเทศ  มีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำป่าสัก

ภูมิอากาศ  ลักษณะภูมิอาการเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู ดังนนี้

  1. ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
  2. ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือน มิถุนายน – ตุลาคม
  3. ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือน พฤศจิกายน – มกราคม

อาชีพประชากร

           การเกษตร  ปัจจุบันประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาลประกอบอาชีพทางการเกษตรตามผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ พุทราสามรส การทำนา ทำไร่ ทำสวน นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทั่วไป
           การประมง  มีเกษตรกรที่ทำอาชีพประมง ประมาณ 50 ราย
           การปศุสัตว์  เป็นการประกอบในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ

จำนวนประชากร    จำนวนประชากรทั้งหมด 7,978 คน แยกเป็น  ชาย  จำนวน 3,884 คน คิดเป็นร้อยละ 48.68  หญิง  จำนวน  4,094 คน  คิดเป็นร้อยละ 51.32  จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,081 ครัวเรือน ความหนาแน่นเฉลี่ย 218.58 คน/ตารางกิโลเมตร

 

บริการขั้นพื้นฐาน

การคมนาคม  การคมนาคมการติดต่อระหว่างตำบล และที่ว่าการอำเภอชัยบาดาลหรือระหว่างตำบลกับพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนการติดต่อภายในตำบลจะใช้การคมนาคมทางบก ถนนสายหลัก ของตำบลชับตะเคียน คือ ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 ที่เริ่มต้นตั้งแต่ถนนม่วงค่อม – ด่านขุนทด เข้าสู่ตำบลชัยบาดาล เป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร โดยการคมนาคม ผ่านเข้าตำบล มีจำนวน 44 สาย ระยะทางรวม 26.910 กิโลเมตร ถนนคอนกรีตจำนวน 36 สาย ระยะทาง 22.050 กิโลเมตร ถนนลาดยางจำนวน 3 สาย ระยะทาง 2.700 กิโลเมตร ถนนหินคลุกหรือลูกรังจำนวน 5 สาย ระยะทาง 2.190 กิโลเมตร

แหล่งน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 2 สาย คือ ลำโกฏิทองและคลองห้วยไผ่ อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย จำนวน 3 แห่ง คือ ฝายลำโกฏิทอง หมู่ 5 , ฝายคลองห้วยไผ่ หมู่ 7 , ฝายทำมะกอก หมู่ 8 สระเก็บกักน้ำ จำนวน 2 แห่ง คือ สระน้ำบ้านท่วมมะกอก หมู่ 6 , สระน้ำวัดจันทราม บ่อบาดาล จำนวน 30 แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

        น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ได้แก่ ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 2 สาย คือ ลำโกฏิทองและคลองห้วยไผ่ อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฝาย 3 จำนวน แห่ง คือ ฝายละโกฏิทอง หมู่ 5 , ฝายคลองห้วยไผ่ หมู่ 7 , ฝายท่ามะกอก หมู่ 8 สระเก็บกักน้ำ จำนวน 2 แห่ง คือ สระน้ำบ้านท่ามะกอก หมู่ 6 , สระน้ำวัดจันทาราม บ่อบาดาล จำนวน 30 แห่ง

       ป่าไม้ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ ลักษณะเป็นพื้นที่ราบ

        ภูเขา ไม่มีพื้นที่ภูเขา ลักษณะเป็นพื้นที่ราบ

สาธารณูปโภค

        ไฟฟ้าในตำบล การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะ ยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้น ยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล จึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนนการแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และวิธีการที่จำดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาลก็ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับถึงเหตุผล เพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้

        จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 2,081 หลังคาเรือน

        ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 78 จุด ครอบคลุมถนนทุกสายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล

        ประปาในตำบล ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ทุกหมู่บ้าน ใช้น้ำบาดาล เป็นส่วนใหญ่

        การท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวคือ ตลาดปลา ติดเขือนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นตลาดต้องชม ของจังหวัดลพบุรี

        การสื่อสารในตำบล ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล มีการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ ทางโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ AIS , DTAC , True ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน   4   แห่ง หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน    11  แห่ง

        ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ มีไปรษณีย์เอกชน  จำนวน 1 แห่ง ให้บริการ เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน) หยุดวันอาทิตย์ มีรถขนส่งนครชัย ผ่าย ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน มีรถตู้โดยสาร ผ่าน ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน

        การบริการ

        ร้านอาหาร                                                                     จำนวน  11  แห่ง

        ร้านเกมส์                                                                       จำนวน   2   แห่ง

        บริการเสริมสวย                                                               จำนวน   5   แห่ง

        ร้านตัดผม                                                                      จำนวน   2   แห่ง

        บริหารซ่อม                                                                     จำนวน   6   แห่ง

        อุตสาหกรรม

        ฟาร์มไก่คาร์กิล                                                                จำนวน   1    แห่ง

        ร้านรับซื้อพืชผลทางเกษตร                                                   จำนวน   1    แห่ง

        บริษัท VT อินดัสตรี                                                           จำนวน   1    แห่ง

        บริษัท ทิพยนารายณ์จำกัด                                                   จำนวน    1   แห่ง

        การพาณิชย์

        สถานีบริการน้ำมัน                                                            จำนวน    3   แห่ง

        บริษัท                                                                           จำนวน    2   แห่ง

        ตลาดสด                                                                        จำนวน    1   แห่ง

        ร้านค้าต่างๆ                                                                    จำนวน    47  แห่ง

        โลตัส                                                                            จำนวน    1   แห่ง

        กลุ่มอาชีพ

        กองทุนหมู่บ้าน                                                                 จำนวน    11  ราย

        กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน                                                         จำนวน    6   กลุ่ม

        กลุ่มอาชีพ                                                                      จำนวน    10  กลุ่ม

                → กลุ่มเกษตรกรทำไร่                                                 จำนวน    11  กลุ่ม

                →กลุ่มแม่บ้านทองม้วน                                              หมู่ที่ 3  ชัยบาดาล

                →กลุ่มแม่บ้านทำปลาย่าง                                            หมู่ที่ 3  ชัยบาดาล

                →กลุ่มทำปลาร้าสมุนไพร                                            หมู่ที่ 3  ชัยบาดาล

                →กลุ่มแปรรูปกะลามะพร้าว                                          หมู่ที่ 2  มะกอกหวาน

                 กลุ่มทำข้าวแตนน้ำแตงโม                                            หมู่ที่ 3  มะกอกหวาน

        กลุ่มณาปนกิจสงเคราะห์ประจำหมู่บ้าน                                       จำนวน 11 กลุ่ม

        สภาพสังคม

        สถาบันและองค์กรทางศาสนา

        ประชาชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถาน วัด 9 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ที่พักสงฆ์ 1 แห่ง ดังนี้

        วัด ป.ประสิทธิ์                                   ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลชัยบาดาล

        วัดจันทาราม                                     ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลชัยบาดาล

        วัดถนนโค้ง                                       ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลชัยบาดาล

        สำนักสงฆ์เขาลาภ                                ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลชัยบาดาล

        วัดลำโกฏิทอง                                    ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลชัยบาดาล

        วัดท่ามะกอกไชยากร                            ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลชัยบาดาล

        วัดเนินศิลา                                       ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลชัยบาดาล

        ที่พักสงฆ์พุทธกายา                              ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลชัยบาดาล

        วัดไชยดิษฐาราม                                 ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลชัยบาดาล

        วัดมะกอกหวาน                                  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลมะกอกหวาน

        วัดโคกสำโรง                                     ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลมะกอกหวาน

        สภาพสังคม ชาวบ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวบ้านมีวิถีชีวิตแบบชนบท เรียบง่าย อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน และในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ได้มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เข้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

        สาธารณสุขในตำบล

        ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชับบาดาล

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุคใหม่

        โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะกอกหวาน – ถนนโค้ง

        อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

        การศึกษาในตำบล จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15 – 60 ปีเต็ม ร้อยละ 99 อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6 – 14 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ 99 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดกิจกรรมให้เด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน สำหรับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน

        สถาบันการศึกษาทั้งสิ้น 7 แห่ง แบ่งตามสังกัด ดังนี้

        มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (ระดับอุดมศึกษา) จำนวน 1 แห่ง

        สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี จำนวน 4 แห่ง

                →โรงเรียนชุมชนบ้านชัยบาดาล

                →โรงเรียนบ้านลำโกฏิทอง

                →โรงเรียนบ้านท่ามะกอก

                →โรงเรียนบ้านมะกอกหวาน

        สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล จำนวน 2 แห่ง

                →ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลชัยบาดาล

                →ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลมะกอกหวาน

         ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม วัฒนธรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี ดังนี้

        งานประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน

        งานประเพณีเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม

        งานประเพณีออกพรรษา เดือนตุลาคม

        งานประเพณีลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย

นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งนั้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
• องค์ประกอบของ อบต. ในการปฏิบัติงาน ดังนี้
(1) สภา อบต. : ฝ่ายนิติบัญญัติ
(2) นายก อบต . : ฝ่ายบริหาร
(3) พนักงานส่วนตำบล : ฝ่ายราชการประจำ
(4) ประชาชนในเขต อบต. : เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมีส่วนรวมดำเนินการ
(5) ฝ่ายกำกับดูแล อบต. : นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
ทั้ง 5 ฝ่ายต้อง มีส่วนรวมในการดำเนินงานตามกรอบอำนาจหน้าที่อย่างสมดุล อบต. จึงพัฒนาอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง